ร่วมสร้างพญาครุฑถวายองค์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

Home >> ร่วมสร้างพญาครุฑถวายองค์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

พญาครุฑ

งาน ปั้นพญาครุฑสีทอง ขนาดใหญ่
ติดหน้าทางขึ้นชั้นสอง
อาคารหลวงปู่ดู่ นั่งแผ่เมตตาบารมี
ทั้งสองบันได
ฝั่งซ้าย “พญาเวนไตร”
ฝั่งขวา “พญาสุบรรณ”
เจ้าภาพกองบุญละ 10,000 บาท
รับเพียง 20 กองบุญต่อ 1 องค์
ได้ติดชื่อ 1 ชื่อ ที่กำแพงพญาครุฑ
หรือร่วมบุญตามจิตศรัทธาที่
หมายเลขบัญชี 061-1-82750-4
กสิกรไทย สาขา ตาคลี
ชื่อบัญชี “มูลนิธิสถานอมตะธรรมพุทธพรหมปัญโญ

เพิ่มเพื่อน

รายชื่อเจ้าภาพ

ฝั่งซ้าย “พญาเวนไตร”
1.กมลวรรณ ตะสาริกา
2.ลูกหลานพุทธพรหมปัญโญ
3. สริดากานต์ แถมฉิมพลี
4.ภณพภัชภา(เฟม) ปุญชรัสมิ์(เฟิร์ม)
5. บุณย์พัชรี อัครรุ่งแสนยากร(มายหวูถิ)
6. ธนันรดา ธนานาถและครอบครัว
7. จารุพักตร์ คำบุรี
8.พณวร​รธน์​ ทอง​กู้​เกียรติ​กู​ล
9.กฤตภาส ศรลัมภ์ และครอบครัว
10. พิชญนันท์ วัฒนาจินดาพัชร์
11.วัชรภณ โพธิ์ธรานนท์ และครอบครัว
12.วิภารัตน์ เวชสวรรค์ และครอบครัว
13.ไพศาล อัชญวัฒน์ พร้อมภรรยาและลูกๆ
14. เบญจวรรณ คำประวัติ
15. นลินี ปัญญาศรีวณิช และครอบครัว
16.วัสวัลย์ ศรีวงศ์ษา
17.จักรทิพย์ มหาสวัสดิ์ และครอบครัว
18.วริยา ทิพยมณฑล และครอบครัว
19.อรรถสิทธิ์ ปรียพัศว์ ถาวรนุรักษ์
20. บริษัท สิริกาญจน์ อินเตอร์เทรด จำกัด
ฝั่งขวา “พญาสุบรรณ”
1. กมลวรรณ ตะสาริกา
2.ลูกหลานพุทธพรหมปัญโญ
3.ภูรดา (ซีน) แสงวิทยานนท์
4. พญ. รัสรินทร์ ศรีฉัตราภิมุข
5.ทิตยา เอโนโมโตะ
6.อารียา อินทร์ติยะ
7. อรพงษ์ ศิริกานต์นนท์
8. น​ภัสสร​ จันทร์​พาณิช​ระ​วี
9. นารถฤดี ธรรมวัน
10.กิตติพศ พวงศิริ และครอบครัว
11. อิศวร์วีร์ รัตนธรรม และครอบครัว
12.โสภา วงศ์ชัยยา
13.จริยามาศ ลิขิตรัตนาวัฒน์
14. สุจินดา สุพุทธิพงศ์
15. ศศิณัฐ จิตตาศิรินุวัตร และครอบครัว
16. จารุพักตร์ คำบุรี
17.กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ และครอบครัว
18. สิริวุฒิ พศิกาญจน์ ศรีวิริยะนนท์ และครอบครัว
19.พงศกร หอประยูร
20.จวบจิตร อรกานต์ รุ่งโรจน์ และครอบครัว

– บทสนทนาระหว่าง
ดร.รอบทิศ ไวยสุศรี ถาม หลวงตาม้า วิริยธโร(ขออนุญาติโพสเพื่อการเผยแพร่)


ผม – หลวงตาครับ ตกลงครุฑเค้าไม่ตีกับนาคใช่ไหมครับ
หลวงตา – เค้าจะตีกันทำไม พวกที่ตีกันนั่นมันพวก งู พวก นก ที่เป็นบริวารของพวกนาคพวกครุฑเขา นาค ครุฑ เค้าเป็นเทวดา เค้าไม่ตีกันหรอก นาค ครุฑ บางองค์ก็เป็นโพธิสัตว์ใหญ่เลยนะ จะตีกันทำไม
ผม – แล้วทำไมช่วงหลังๆมานี้ หลวงตาชอบสร้างครุฑครับ
หลวงตา – เอ้า ครุฑเค้าเป็น “พระกาล” นะ
ผม – “พระกาล” คืออะไรครับ
หลวงตา – “พระกาล” ก็เป็นเทวดาที่ดูแลกาลเวลา ดูแลโลกทั้งหมดนี้ล่ะ ยุคนี้ ครุฑ เค้ารับหน้าที่นะ หัวหน้าครุฑที่ทำหน้าที่นี้ โพธิสัตว์ใหญ่เลยนะ บารมีเยอะมาก
ผม- แสดงว่า “พระกาล” ก็คล้ายๆ พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาล พระสยามเทวาธิราช ฯลฯ ที่เป็นหน้าที่ ที่มีเทวดาเวียนเปลี่ยนกันมารับหน้าที่ไปเรื่อยๆตามยุคสมัย
หลวงตา – ใช่ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยุคนี้เป็นครุฑ ครุฑ เค้าทำหน้าที่ดูแล “จักรแก้ว” นะ จักรแก้วของจักรพรรดิ ครุฑเค้าดูแลอยู่
ผม – อ้าว เหรอครับ ผมนึกว่า สมบัติจักรพรรดินี่ จะเป็นพญานาคดูแลเป็นหลักหลวงตา – ไม่นะ พวกพญานาค เค้าดูแล แก้วจักรพรรดิ ส่วนครุฑ เค้าดูแล จักรแก้ว ส่วนสมบัติอย่างอื่น ก็มีเทวดาแต่ละพวกแบ่งงานกันดูแลไป
หลวงตา – ใช่ มีครุฑ ก็มีจักร อธิษฐานใช้ได้เลยนะ หลวงตาชอบจักรมาก มันใช้งานได้เร็วดี ครุฑเค้าก็เร็ว จักรเค้าก็เร็ว อธิษฐานขออะไรเร็วๆได้หมด หรือจะอธิษฐานให้มีจักรหมุนอยู่รอบตัวไว้ป้องกันตัวก็ได้ อธิษฐานจักรไปไล่สิ่งไม่ดีก็ได้ อธิษฐานจักรไปแผ่บุญก็ได้ ใช้ได้หมด
ผม- โห ใช้ได้สารพัดประโยชน์เลย ไม่เคยรู้มาก่อน ว่าเครื่องรางที่มีรูลักษณ์ครุฑ จะใช้อธิษฐานได้หลายรูปแบบขนาดนี้หลวงตา – ยุคนี้ต้องครุฑนะ เค้าดูแลกาลเวลา แล้วลองดูเดี๋ยวนี้สิ รูปพญานาค เราก็เจอแต่ในวัด รูปยักษ์ รูปเทวดา เราก็เจอแต่ในวัด แต่รูปครุฑนี่ เราเจอทั่วประเทศเลยนะ ทั้งในวัด ในเครื่องราง ในหลักกิโลเมตร ในหนังสือราชการ ในเหรียญบาท รูปลักษณ์เค้ากระจายทั่วไปหมด เลยอธิษฐานใช้ได้ง่ายและครอบคลุมมากที่สุดในยุคนี้เลย
ผม – อ้อ จริงด้วยครับ มีรูปครุฑไปทุกที่ในไทยเลย แล้วตัวครุฑจริงๆเค้าอยู่ที่ไหนกันครับ เห็นหลวงตาเคยเล่าว่าแถวเชียงดาวก็มีอยู่
หลวงตา – มีสิ ก็บนยอดดอยหลวงเชียงดาวไง นั่นล่ะ เป็นเมืองใหญ่ของครุฑเค้าเลยนะ เป็นเมืองซ้อนมิติกันอยู่ ใครตาดีก็เห็นเองล่ะผม – แล้วพวกยักษ์ล่ะครับ
หลวงตา – ก็อยู่แถวตีนเขานั่นล่ะ มีเมืองยักษ์ด้วย
ผม – โอ้โห แสดงว่าแถบเชียงดาวนี่ศักดิ์สิทธิ์มากเลยนะครับ มีทั้งครุฑ ทั้งยักษ์ แล้วที่วัดเอง ก็มีเมืองนาคข้างล่างด้วย แสดงว่าเค้ามาอยู่แถวนี้เพื่อคอยดูแลของสำคัญใช่ไหมครับ
หลวงตา – ฮ่ะๆ ใช่ ใต้ถ้ำเมืองนะนั่นไง เราก็รู้นี่ว่ามีอะไรผม- ครับ แล้วแสดงว่าแถบนี้ต่อไปในอนาคตจะเจริญทางธรรมด้วยใช่ไหมครับ
หลวงตา – เอ้อ แถบนี้ ขึ้นไปถึง เชียงตุง สิบสองปันนา ต่อไปมันเป็นที่ของพระศรีฯเค้านะ ในอนาคตท่านจะลงมาแถบนี้
ผม – สาธุครับ หลวงตา