
แจ้งร่วมบุญ
-
-
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง,ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง, โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขังขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง, ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตังเมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง, ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา, จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง, วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง, ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
-
-
๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง, พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)
คำแปล มีอยู่ 8 บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ
บทที่ 1 สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ 2 สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ 3 สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ 4 สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ 5 สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ 6 สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ 7 สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ 8 สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน
บทสวดพาหุงฯ ที่เราหลายๆคนท่องได้แล้ว และบางคนกำลังหัดท่อง ชื่อเต็มๆมีชื่อว่า “ชัยมงคลคาถา” เป็นบทสวดมนต์ที่เรียงเรียงขึ้นถึงเหตุการณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ชนะพญามารในช่วงต่างๆ ถึง 8 เหตุการณ์ ตั้งแต่วันตรัสรู้ธรรม จนถึงเหตุการณ์ผกาพรหม เป็นต้น ซึ่งตามตำนานนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของเราทรงสวดบทนี้ทุกครั้งเพื่อใช้ในการปกครองบ้านเมืองและทำราชการสงคราม เพื่อให้มีชัยเหนืออริราชศัตรู อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชัยชนะเหนือพญามารผู้ใจบาปได้
ในบทที่ 1 ปราบมาร ด้วยทานบารมี พระคาถาพาหุงบทแรก พญามารเข้าผจญพระพุทธองค์เพื่อขวางการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงใช้บารมีของพระองค์ ปรากฎพระแม่ธรณีออกมาบีมมวยผม อานุภาพแห่งพระคาถาบทที่1 สะท้อนพุทธคุณในการช่วยปัดเป่าอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ในบทที่ 2 ปราบยักษ์ ด้วยขันติธรรม ทรงปราบอาฬาวกะยักษ์ที่ได้รับพรจากท้าวเวสสุวรรณให้จับสิ่งมีชีวิต ที่เข้ามาใกล้เขตของตนกินได้ โดยทรงใช้ขันติเข้าปราม อานุภาพแห่งพระคาถาบทที่2 เพื่อเอาชนะคนที่มีจิตใจกระด้างอำมหิต
ในบทที่ 3 ปราบช้าง ด้วยเมตตาธรรม พระเทวทัตคิดกลอุบายปล่อยช้างนาฬาคิรี ที่เมาและตกมันมาหมายจะสังหารพระพุทธองค์ ทรงแผ่เมตตาไปยังพญาช้างทำให้พญาช้างสงบ อานุภาพของพระคาถาบทที่ 3 เพื่อชนะศัตรูสัตว์ร้ายทั้งหลาย
ในบทที่ 4 ปราบมหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์ โจรองคุลีมารถือดาบหมายจะสังหารพระพุทธองค์ และทรงใช้อิทธิฤทธิ์ทางใจจนสามารถเอาชนะใจโจร องคุลีมารให้กลับใจได้ อานุภาพของพระคาถาบทที่ 4 เพื่อป้องกันโจรและกลับใจคนได้
ในบทที่ 5 ปราบหญิงแพศยา ด้วยสันติธรรม นักบวชลัทธิเชนจ้างโสเภณี ชื่อ จิญจายะใส่ร้ายว่า ท้องกับพระพุทธองค์ ทรงชนะได้ด้วยวิธีสงบพระหฤทัย จนท้ายที่สุด นางจิญจายะต้องโทษถูกธรณีสูบเอง อานุภาพพระคาถาบทที่ 5 เพื่อเอาชนะการใส่ร้าย การชนะคดีความ
ในบทที่ 6 ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญา สัจจะกนิครณ นักบวชลัทธิเชน กล่าวท้าทายดูหมิ่นศาสนาพุทธ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโต้ตอบเพื่อโปรดความเขลาจนนักบวชต้องจนหนทาง อานุภาพของพระคาถาบทที่ 6 เพื่อเอาชนะความเขลาของคนและเอาชนะการโต้เถียงขัดแย้ง
ในบทที่ 7 ปราบพญานาคจอมพาล ด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์ นันโทปนันทนาคราชไม่พอใจพระพุทธเจ้าที่เหาะข้ามวิมานตนไป จึงมาท้าทาย พระโมคลานะจึงขออาสาใช้ฤทธิ์ปราบพญานาคราช จนสามารถปราบเอาชนะได้ อานุภาพแก่งพระคาถาบทที่ 7 เพื่อเอาชนะเล่ห์เลี่ยมของคน
ในบทที่ 8 ปราบพกาพรหม ด้วยญาณ พรหมชื่อ พกาหลงผิดคิดว่าตนนั้นบรรลุอยู่คงทนเป็นนิรันดร์ พระพุทธองค์จึงมาแสดงธรรมเพื่อโปรด พกามาพรหมท้าทายลองฤทธิ์กับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงแสดงอิทธิฤทธิ์แอบซ่อนตัวในมวยผมเพื่อให้พกามาพรหมค้นหาและทรงชนะในที่สุด อานุภาพของพระคาถาบทที่ 8 เพื่อเอาชนะมานะทิฎฐิ
บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ